สำนักปฏิบัติธรรมวัดใหม่ปลายห้วย แห่งที่ ๑๒

สำนักปฏิบัติธรรมวัดใหม่ปลายห้วย แห่งที่ ๑๒
สำนักปฏิบัติธรรมแห่งที่ ๑๒ วัดใหม่ปลายห้วย สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่น ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๕
 

วัดใหม่ปลายห้วย เลขที่ ๑๐๘ หมู่ที่ ๑๑ ตำบล เนินปอ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ๖๖๑๔๐
โทรศัพท์ ๐๘-๖๐๖๒-๘๔๔๖ 
E-mail  tanuttaro@hotmail.com
website  http://www.sawangburi.com
 
เจ้าสำนัก  
พระครูใบฏีกาอุดร ฉายา ฐานุตฺตโร นามเดิม อุดม ตำแหน่งเจ้าคณะปกครองคณะสงฆ์ เจ้าอาวาสวัดใหม่ปลายห้วย 
วุฒิการศึกษาปวส.  ประกาศนียบัตรการบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ป.บส.)อายุ ๓๑ พรรษา๑๒ ได้รับการจัดตั้งเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพิจิตรแห่งที่ ๑๒ เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๒
อาจารย์ผู้สอน
๑. พระครูใบฎีกาอุดร ฉายา ฐานุตฺตโร  เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมฯและพระวิปัสสนาจารย์ประจำสำนักฯ การศึกษา นักธรรมเอก
๒. พระประสิทธิ์ วชิดร พระวิปัสสนาจารย์ประจำสำนักฯ การศึกษา ปวส.นักธรรมเอก
๓. พระสมุห์นพฤทธิ์ อคฺคธมฺโม  พระวิปัสสนาจารย์ ประจำสำนักฯ การศึกษา นักธรรมเอก ปริญญาตรี
 
ลักษณะวิธีการสอน
แบบบริกรรม พุท-โท  ,แบบอานาปานสติ (กำหนดลมหายใจ)
 
สถาพสัปปายะสถาน
เนื้อที่ ๔๐ ไร่ ศาลาปฏิบัติธรรม  ๒ หลัง อาคารที่พักชาย ๑๐ หลัง / อาคารที่พักหญิง ๓๐ หลัง สามารถรับรองผู้มาปฏิบัติธรรมได้ ๔๐๐-๕๐๐ คน/ครั้ง
 จำนวนพุทธศาสนิกชนเข้าร่วมกิจกรรม
- สรุปจำนวนพุทธศาสนิกชนผู้มาปฏิบัติธรรม ในปีที่ผ่านมา (พ.ศ.๒๕๕๔) จำนวน  ๔,๓๑๐  คน
- จำนวนพุทธศาสนิกชนผู้มาปฏิบัติธรรม ในไตรมาส ๑ (๑ ต.ค.๕๔ – ๓๑ ธ.ค. ๕๔) จำนวน  ๑,๕๕๐  คน
- จำนวนพุทธศาสนิกชนผู้มาปฏิบัติธรรม ในไตรมาส ๒ (๑ ม.ค. – ๓๑ มี.ค. ๕๕) จำนวน  ๑,๒๘๐  คน
- จำนวนพุทธศาสนิกชนผู้มาปฏิบัติธรรม ในไตรมาส ๓ (๑ เม.ย. – ๓๑ มิ.ย. ๕๕) จำนวน  ๑,๔๘๐  คน
บริเวณสำนัก อาคารที่พัก ศาลาปฏิบัติธรรม และสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน“ ความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในสำนัก ไม้ยืนต้น ไม้ดอก ไม้ประดับ ที่พักผ่อนในบริเวณสำนัก รั้วแสดงบริเวณที่ตั้งสำนัก ป้ายแสดงประวัติสำนักโดยย่อ ป้ายแสดงรายนามเจ้าสำนัก ป้ายสถิติบอกจำนวนศาสนบุคคลภายในวัด ป้ายชื่อสำนัก แผนผังสำนัก ถนนและทางเท้าภายในสำนัก การสาธารณูปโภคในสำนัก อาคารที่พัก เรือนนอน ศาลาปฏิบัติธรรม ห้องสุขา ห้องอาบ”
ประวัติโดยสังเขปของสำนักปฏิบัติธรรม
สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพิจิตร แห่งที่ ๑๒  เป็นสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐาน ชื่อว่า “ สำนักปฏิบัติธรรมสวนป่าพุทธบารมี ” ที่อยู่ในสังกัดของวัดใหม่ปลายห้วย มีประวัติความสำคัญ คือ
วัดใหม่ปลายห้วย  ตั้งอยู่ เลขที่ ๑๐๘ หมู่ที่ ๑๑ บ้านปลายห้วย  ตำบลเนินปอ  อำเภอสามง่าม  จังหวัดพิจิตร  ๖๖๑๔๐  สังกัดคณะสงฆ์ ภาค  ๔  หนเหนือ  สังกัดมหานิกาย 
ได้รับบริจาคที่ดินจาก  นายวงค์  เที่ยงอยู่  จำนวน ๒ ไร่  จึงได้ดำเนินการเริ่มก่อสร้าง  ตรงกับวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๗ ( เดือน ๑๒ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีจอ )  คณะลูกหลานของคุณแม่สุ่ม  ทับทิม  บริจาคเป็นต้นทุนในการก่อสร้าง เป็นจำนวนเงิน ๑๕,๐๐๐ บาท  และชาวบ้านบริจาคหลังคาละ๗๐๐บาท ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างถาวรวัตถุขึ้นเป็นลำดับ ในวันที่๕  ธันวาคม  ๒๕๔๗  
มีที่ดินจำนวน  ๑๓ ไร่  ๒ งาน ๘๕ ตารางวา ตามเอกสารสิทธิ์ สปก.  และมีที่ธรณีสงฆ์ ๑ แปลง จำนวน  ๒๖ ไร่ มีสถานที่ปฏิบัติธรรม ซึ่งเป็นป่าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จำนวน  ๔๓ ไร่ ได้รับอนุญาตให้สร้างวัด   เมื่อวันที่  ๒๗ มกราคม ๒๕๔๘  ได้รับอนุญาตตั้งวัด  เมื่อวันที่   ๑๙  ธันวาคม ๒๕๔๘   
รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  เมื่อวันที่  ๑๖  ตุลาคม  ๒๕๔ ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราช ทานวิสุงคามสีมา   งวดที่   ๔ ประจำปี ๒๕๔๙  ลำดับที่ ๖ สนองบรมราชโองการ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี  ประกาศราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่  ๑๒๓  ตอนที่  ๑๒๕ ง เมื่อวันที่  ๓๐  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙ 

วัตถุประสงค์ ในการเปิดสำนักปฏิบัติธรรมนั้น สาเหตุหลักเพราะเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ ได้มีสาธุชนพุทธบริษัทเลื่อมใสและศรัทธาในการปฏิบัติธรรมเพิ่มมากขึ้น  จึงได้จัดให้มีการปฏิบัติธรรมเป็นประจำ
ปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ - ๒๕๔๘  พระเดชพระคุณหลวงปู่ทองดี   อนีโฆ ได้ดำเนินการก่อสร้างสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐาน  โดยการปฏิบัติธรรมในวัดช่วงแรกใช้ศาลามุงหญ้าคาเป็นศาลาปฏิบัติธรรม และให้นักปฏิบัติธรรมนอนในเต็นท์  ต่อมาได้สร้างศาลาการเปรียญเพื่อใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม และงานด้านศาสนกิจ
ปีพุทธศักราช ๒๕๔๘  สำนักวิปัสสนากัมมัฏฐาน วัดใหม่ปลายห้วย ได้ก่อสร้างศาลาปฏิบัติธรรม ขนาดกว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๗๐ เมตร เพื่อใช้ในการปฏิบัติธรรม
ปีพุทธศักราช ๒๕๕๐  สำนักวิปัสสนากัมมัฏฐาน วัดใหม่ปลายห้วย ได้จัดงานเททองหล่อพระกริ่งทองคำถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ  และได้ทำพิธีเบิกพระเนตร สมเด็จพระพุทธองค์ปฐม พระประธานในศาลาปฏิบัติธรรม โดยพระเจ้าวรวงค์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาทินัดดามาตุ เสด็จมาเป็นประธานในพิธี
  ปีพุทธศักราช ๒๕๕๑  สำนักวิปัสสนากัมมัฏฐาน วัดใหม่ปลายห้วยได้รับพิจารณาจาก สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล  แด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์   และเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ของรัฐ  โครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้แก่เด็กและเยาวชน และการปฏิบัติธรรมในเดือนธันวาคม เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ
ปีพุทธศักราช ๒๕๕๒  วัดใหม่ปลายห้วย ได้รับการพิจารณาจากมหาเถรสมาคม  ให้เป็น สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพิจิตร แห่งที่ ๑๒
โดยมี พระครูใบฎีกาอุดร   ฐานุตฺตโร เจ้าอาวาสวัดใหม่ปลายห้วย เป็น เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมฯ  เพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้พระภิกษุ – สามเณร ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนและนักเรียน นักศึกษา พุทธสาสนิกชนได้รับการฝึกอบรมสมาธิภาวนา เข้าถึงหลักธรรมอย่างถูกต้อง สามารถเป็นที่พึ่งให้กับตนเองได้ และไม่ต้องเดินทางไกลเพื่อเข้าฝึกอบรมสมาธิภาวนา และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ฯ
ปีพุทธศักราช ๒๕๕๒  สำนักฯ ได้รับพิจารณาจาก สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ให้เป็นสถานปฏิบัติธรรมสำหรับข้าราชการพลเรือนในโครงการเข้าฝึกอบรมจิตเจริญสมาธิภาวนา ปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ  โดยได้รับเงินงบประมาณสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นจำนวน ๕ รุ่น และทางสำนักฯ จัดปฏิบัติธรรมเองเพื่อประโยชน์ต่อประชาชนในท้องถิ่น และประชาชนทั่วไป  ซึ่งการปฏิบัติธรรมในแต่ละครั้งนั้นมีประชาชนผู้สนใจการปฏิบัติมาร่วมปฏิบัติธรรมประมาณ ๔๐๐ – ๕๐๐  คน
ความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในสำนักฯ
สำนักฯได้จัดทำแผนผังในการดำเนินการปลูกสิ่งก่อสร้าง ศาลาปฏิบัติธรรมลักษณะทรงไทยประยุกต์ ชั้นเดียวขนาดกว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๗๐ เมตร และใช้ศาลา “อนีโฆ” หลังใหญ่ของวัดใหม่ปลายห้วยเป็นที่จัดปฏิบัติธรรมในขนาดกลุ่มบุคคลจำนวนมาก กุฏิที่พักอาศัยแยกเขตและห้องพักพระภิกษุ/ชาย/หญิง  พร้อมมีห้องน้ำในตัว เพื่อความเงียบสงบต่อผู้เข้าพักอาศัยในการปฏิบัติธรรม กุฏิสอบอารมณ์กัมมัฏฐาน โรงครัวสำหรับประกอบอาหาร (รูปตามภาคผนวกหน้า ๓๒ )
  ต้นไม้ยืนต้น ไม้ดอก ไม้ประดับ ได้จัดโซนแยกส่วนออกจากที่พักอาศัย เพื่อสะดวกต่อการรักษาความสะอาด และความปลอดภัยจากสัตว์ แมลง โดยได้จัดปลูกไม้ยืนต้นไว้บริเวณหน้าสำนักฯเพื่อให้ร่มเงาในการพักผ่อนหลังการปฏิบัติธรรม ไม้ดอกไม้ประดับ ได้จัดการปลูกแยกกระถางพร้อมวางเป็นแนวระยะเพื่อความสวยงาม และสดชื่นจิตใจเมื่อพบเห็น
ที่พักผ่อนบริเวณสำนักฯ สำนักฯได้จัดหาม้านั่งและจัดทำที่พักผ่อนใต้ต้นไม้ยืนต้น บริเวณโดยรอบของสำนักฯ และได้จัดทำห้องสมุดสำหรับประชาชน ที่วางหนังสือพระไตรปิฎก หนังสือสวดมนต์ หนังสือธรรมะ สื่อธรรมะต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เข้ามาปฏิบัติธรรมได้มีที่พักผ่อนและเสริมด้วยการศึกษาพระธรรมไปด้วย       รั้วแสดงบริเวณที่ตั้งสำนักฯ สำนักฯได้ก่อเป็นกำแพงก่ออิฐเสริมเหล็ก สูง ๒.๐๐ เมตรโดยรอบด้านหน้าทางเข้าวัด และแยกกั้นบริเวณพระภิกษุ/ชาย/หญิง เพื่อป้องกันบุคคลภายนอกเข้ามาก่อความวุ่นวายให้กับผู้ปฏิบัติ 
ป้ายแสดงประวัติสำนักฯโดยย่อ สำนักฯได้จัดทำบอร์ดแสดงประวัติการก่อตั้งสำนักปฏิบัติธรรมไว้ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นในสาเหตุแห่งการก่อตั้งสำนักฯ แก่ผู้ที่มีศรัทธาในการเข้ามาแสวงหาพระสัทธรรมคำสอน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ป้ายแสดงรายนามเจ้าสำนัก ป้ายสถิติบอกจำนวนศาสนบุคคลภายในวัด ป้ายชื่อสำนัก แผนผัง ถนนและทางเท้าภายในสำนัก การสาธารณูปโภคภายในสำนัก อาคารที่พัก เรือนนอนศาลาปฏิบัติธรรม ห้องสุขา ห้องอาบ สำนักปฏิบัติธรรมได้จัดทำแสดงไว้เพื่อสะดวกในการศึกษาพร้อมใช้สอย ทั้งอาคารที่พัก เรือนนอนเป็นที่พักเดี่ยวรายบุคคล ศาลาปฏิบัติธรรมมีทั้งภายในสำนักและใช้รวมกับศาลาใหญ่ที่ใช้บำเพ็ญกุศลทุกวันพระ
บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในสำนัก (เจ้าสำนัก พระวิปัสสนาจารย์ หรือพระอาจารย์สอนกัมมัฏฐาน และพระวิทยากรบรรยายธรรม)

“ประวัติการเข้าร่วมประชุม/สัมมนา/ดูงานของเจ้าสำนัก ประวัติการศึกษา/อบรมด้านการเป็นพระวิปัสสนาจารย์ หรือพระอาจารย์สอนกัมมัฏฐานของบุคลากรในสำนัก รายนามและจำนวนพระวิปัสสนาจารย์หรืออาจารย์สอนกัมมัฏฐานในสำนัก ผลการปฏิบัติงานด้านการเป็นพระวิปัสสนาจารย์หรือพระอาจารย์สอนกัมมัฏฐานของบุคคลากรในสำนัก”
ประวัติการเข้าร่วมประชุม/สัมมนา/ดูงานของเจ้าสำนัก
พระครูใบฎีกาอุดร   ฐานุตฺตโร  อายุ ๓๑ พรรษา ๑๒  เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมฯ การศึกษานักธรรม เอก
ปีพุทธศักราช  ๒๕๔๘ ไปดูงานการปฏิบัติธรรมของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ ๑ วัดพระธาตุศรีจอมทอง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
ปีพุทธศักราช  ๒๕๔๙ ไปดูงานการปฏิบัติธรรมของสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐาน วัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
ปีพุทธศักราช  ๒๕๕๐ ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดใหม่ปลายห้วย  ได้บริหารงานด้านการเผยแผ่พระพุทธสาสนา  ส่วนการปฏิบัติธรรมมากยิ่งขึ้น
ปีพุทธศักราช ๒๕๕๔  เข้าฝึกอบรมโครงการฝึกอบรมพระวิปัสสนาจารย์  ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม –  ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๔  ณ วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร ตำบล บ้านหลวง อำเภอ จอมทอง จังหวัด เชียงใหม่
ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์ คือ เจ้าอาวาสวัดใหม่ปลายห้วย
ประวัติการศึกษา/อบรมด้านการเป็นพระวิปัสสนาจารย์ และพระอาจารย์สอนกัมมัฏฐานของบุคลากรในสำนักฯ
๑. พระปลัดประสิทธิ์   วชิโร  อายุ ๒๙ พรรษา ๙ พระวิปัสสนาจารย์ประจำสำนักฯ การศึกษาปริญญาวิชาชีพชั้นสูง ( ปวส. ) นักธรรมเอก
ประวัติการอบรมศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐาน และการฝึกสอน
ปีพุทธศักราช ๒๕๔๙  เข้าปฏิบัติธรรม  สำนักวิปัสสนากัมมัฏฐาน วัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี  จังหวัดสิงห์บุรี
ปีพุทธศักราช ๒๕๕๑  เข้าฝึกอบรมโครงการฝึกอบรมพระวิปัสสนาจารย์  ระหว่างวันที่ ๑ – ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๑  ณ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ร่วมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ปีพุทธศักราช ๒๕๕๒  เข้าฝึกปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน และวิชาครู (วิปัสสนาจารย์) ตามแนวสติปัฏฐานสูตร ณ สถาบันพุทธภาวนาวัดหลวงพ่อสดฯ สถาบันเครือข่ายของมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ฝึกสอนในสอบอารมณ์กัมมัฏฐานกับผู้ปฏิบัติพระกัมมัฏฐานจริง ระยะเวลา ๑๕ วัน  ระหว่างวันที่ ๑๔-๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๒ และปฏิบัติเพื่อทบทวนอีกครั้งละอย่างน้อย ๑๕ วันต่อปีในทุก ๆปี
ประวัติการปฏิบัติหน้าที่สนองงานคณะสงฆ์
๑. พระวิปัสสนาจารย์ประจำวัดใหม่ปลายห้วย มีหน้าที่ให้ความรู้เบื้องต้นต่อนักเรียน นักศึกษา ในสถาบันการศึกษา และหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน
๒. ผู้ดำเนินกิจกรรมโครงการปฏิบัติธรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และวันสำคัญของชาติ วัดใหม่ปลายห้วย
๓. พระวิทยากรค่ายพุทธบุตร/ ค่ายคุณธรรมสำหรับนักเรียน-นักศึกษา
ผลงานทางวิชาการ การเผยแผ่วิปัสสนากัมมัฏฐาน
๑. เป็นรวบรวม “คู่มือไหว้พระสวดมนต์ ทำวัตรเช้า – เย็น แปล ประจำวัด/สำนักฯ” จัดพิมพ์จำนวนสองครั้ง จำนวน ๒,๐๐๐ เล่ม เพื่อแจกเป็นธรรมทานให้วัด/สำนักฯ/สถานการศึกษา/หน่วยงานราชการ
๒. เป็นผู้รวบรวม “หนังสือธรรมะ” จัดพิมพ์จำนวน ๕,๐๐๐ เล่ม เพื่อแจกเป็นธรรมทานให้ผู้ปฏิบัติธรรม และสำนักฯ
๓. เป็นรวบรวม “บทสวดมนต์” จัดพิมพ์จำนวน ๒,๐๐๐ เล่ม เพื่อแจกเป็นธรรมทานให้แก่พุทธศาสนิกชน

๒. พระสมุห์นพฤทธิ์  อคฺคธมฺโม อายุ ๒๖ พรรษา ๖ พระวิปัสสนาจารย์ประจำสำนักฯ การศึกษา นักธรรมชั้นเอก ปริญญาตรี
ประวัติการอบรมศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ปีพุทธศักราช ๒๕๕๑  เข้าฝึกอบรมโครงการฝึกอบรมพระวิปัสสนาจารย์  ระหว่างวันที่ ๑๘ เมษายน –  ๑ มิถุนายน ๒๕๕๕  ณ วัดเขาค้อพัฒนาราม ตำบลเขาค้อ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในอุปถัมภ์โครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย
ประจำสำนักฯ ประวัติการปฏิบัติหน้าที่
๑. พระวิปัสสนาจารย์ประจำวัดใหม่ปลายห้วย มีหน้าที่ให้ความรู้เบื้องต้นต่อนักเรียน นักศึกษา ในสถาบันการศึกษา และหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน
๒.  ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ครูสอนศีลธรรมในโรงเรียน
๓. พระวิทยากรค่ายพุทธบุตร/ค่ายคุณธรรมสำหรับนักเรียน – นักศึกษาในเขตจังหวัดพิจิตร  
๓.  พระใบฎีกาสมบัติ กตปุญฺโญ  อายุ ๓๑ พรรษา ๖ การศึกษา นักธรรมชั้นโทปริญญาตรี พระช่วยฝึกสอนพระกัมมัฏฐานและบรรยายธรรม ประจำสำนักฯ
ประวัติการปฏิบัติหน้าที่
๑.  ปัจจุบันพระวิทยากรอบรมการปฏิบัติพระกรรมฐานเบื้องต้นตามแนว มหาสติปัฏฐาน ๔
การบริหารจัดการ
 “ กิจกรรมส่งเสริมการถือศีลปฏิบัติธรรม (ย้อนหลัง ๒ ปี) การจัดทำบัญชีรายรับ –รายจ่ายของสำนัก จำนวนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเพื่ออำนวยความสะดวกภายในสำนัก การรักษาความปลอดภัยภายในสำนัก การดูแลด้านสุขอนามัยภายในสำนัก การจัดทำระเบียบข้อบังคับของสำนัก การประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสำนัก การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนรอบสำนักและประชาชนทั่วไป”
กิจกรรมการส่งเสริมการถือศีลปฏิบัติธรรมตามโครงการ เสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมสำหลับประชาชนทั่วไป ระหว่างเดือน ตุลาคม ๒๕๕๔ ถึงเดือน มิถุนายน ๒๕๕๕
ปีพุทธศักราช ๒๕๕๔
๑. โครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมสำหลับประชาชนทั่วไประหว่างวันที่ ๒๘- ๓๐ ตุลาคม  ๒๕๕๔  จำนวน ๔๕๐ คน ถือศีล ๘ สนับสนุนโครงการโดย พระพิศาลญาณวงศ์ (ทองดี) ใช้งบประมาณทั้งสิ้น ๔๐,๕๐๐ บาท 
๒. โครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมสำหลับประชาชนทั่วไประหว่างวันที่ ๒๕-๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ จำนวน ๔๗๐ คน ถือศีล ๘ สนับสนุนโครงการโดย พระพิศาลญาณวงศ์ (ทองดี) ใช้งบประมาณทั้งสิ้น ๔๐,๕๐๐ บาท                                                                                               ๓. โครงการอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติ และปฏิบัติธรรม ระหว่างวันที่ ๕-๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๔  จำนวน ๖๓๐ คน แบ่งเป็นพระภิกษุ จำนวน ๑๘๐ รูป และ ประชาชนที่บวชเนกขัมมะจาริณี รักษาศีล ๘ จำนวน ๔๕๐ คน สนับสนุนโครงการโดย พระพิศาลญาณวงศ์ (ทองดี) และประชาชนร่วมบริจาคงบประมาณทั้งสิ้น ๓๕๒,๒๕๐ บาท
ปีพุทธศักราช ๒๕๕๕
๑ . โครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมสำหลับประชาชนทั่วไประหว่างวันที่ ๒๗-๒๙  มกราคม ๒๕๕๕ จำนวน ๔๐๐ คน ถือศีล ๘ สนับสนุนโครงการโดย พระพิศาลญาณวงศ์ (ทองดี) ใช้งบประมาณทั้งสิ้น ๔๐,๕๐๐ บาท
๒. โครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมสำหลับประชาชนทั่วไประหว่างวันที่ ๒๗-๒๙กุมภาพันธ์ ๒๕๕ จำนวน ๔๕๐ คน ถือศีล ๘ สนับสนุนโครงการโดย พระพิศาลญาณวงศ์ (ทองดี) ใช้งบประมาณทั้งสิ้น ๔๐,๕๐๐ บาท                                                                                                   ๓. โครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมสำหลับประชาชนทั่วไประหว่างวันที่  ๒๗-๒๗  มีนาคม ๒๕๕๕ จำนวน ๔๓๐ คน ถือศีล ๘ สนับสนุนโครงการโดย พระพิศาลญาณวงศ์ (ทองดี) ใช้งบประมาณทั้งสิ้น ๔๐,๕๐๐ บาท
๔. โครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมสำหลับประชาชนทั่วไประหว่างวันที่  ๒๗-๒๙ เมษายม ๒๕๕๕ จำนวน ๔๗๐  คน ถือศีล ๘ สนับสนุนโครงการโดย พระพิศาลญาณวงศ์ (ทองดี) ใช้งบประมาณทั้งสิ้น ๔๐,๕๐๐ บาท                                                                                                ๕. โครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมสำหลับเยาวชน  ระหว่างวันที่ ๒๕-๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๕ จำนวน ๕๐๐ คน ถือศีล ๘ สนับสนุนโครงการโดย พระพิศาลญาณวงศ์ (ทองดี) ใช้งบประมาณทั้งสิ้น ๔๔,๕๐๐ บาท
๖. โครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมสำหลับประชาชนทั่วไประหว่างวันที่ ๒๕-๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๕ จำนวน ๕๑๐ คน ถือศีล ๘ สนับสนุนโครงการโดย พระพิศาลญาณวงศ์ (ทองดี) ใช้งบประมาณทั้งสิ้น ๔๔,๕๐๐ บาท
 
จำนวนสำนักปฏิบัติธรรมรองรับได้
จำนวน ๑,๐๐๐ คน

ที่มารูป 


             
    
    
      
    
      


image
image
image
image
 
 
 
 

Website Policy | Privacy Policy | Security Policy | Disclaimer | ข้อกำหนดการใช้ Cookies รองรับการทำงานบน Internet Explorer v.11+, Microsoft Edge, Firefox v.47.0+, Chrome v.51+

จำนวนการเข้าชม : 307,037