การขอพระราชทานเพลิงศพ
หลักเกณฑ์ในการขอพระราชทานเพลิงศพ
ผู้มีสิทธิ์ได้รับพระราชทานเพลิงหลวง และหีบเพลิงต้องมีตำแหน่งและชั้นยศ ดังต่อไปนี้
1. พระสมณศักดิ์ ตั้งแต่ชั้น “พระครูสัญญาบัตร” ขึ้นไป และพระภิกษุ สามเณร เปรียญธรรม 9 ประโยค
2. พระราชวงศ์ ตั้งแต่ชั้น “หม่อมเจ้า” ขึ้นไป
3. ผู้ที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์
4. ข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป
5. ข้าราชการฝ่ายทหาร ตำรวจ ยศชั้นร้อยตรี ขึ้นไป
6. พนักงานเทศบาลตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป
7. ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตั้งแต่ “เบญจมดิเรกคุณาภรณ์” (บ.ภ.) และ “เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย” (บ.ม.) ขึ้นไป
8. ผู้มีเกียรติที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ “จุลจอมเกล้า” (จ.จ.) หรือ “ตราสืบตระกูล” (ต.จ.) ขึ้นไป
9. ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญ “รัตนาภรณ์” รัชกาลปัจจุบัน
10. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล ที่ถึงแก่กรรมในขณะดำรงตำแหน่ง
11. รัฐมนตรีที่ถึงแก่อนิจกรรม
12. ผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นกรณีพิเศษ
หลักเกณฑ์ในการขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ
ผู้ที่สมควรได้รับการพิจารณาในการขอพระราชทานเพลิงศพกรณีพิเศษ ควรอยู่ในหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. ผู้ที่อยู่ในราชสกุล ชั้นหม่อมราชวงศ์และหม่อมหลวง
2. พระสงฆ์ที่พระราชาคณะพิจารณาขอพระราชทานให้
3. พนักงานรัฐวิสาหกิจระดับสูง
4. ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญราชรุจิ เหรียญกล้าหาญ และเหรียญชัยสมรภูมิ
5. ผู้ที่ได้ทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติ เช่น ศิลปินแห่งชาติ นักกีฬาระดับชาติ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อดีตสภาร่างรัฐธรรมนูญ อดีตสมาชิกสภาจังหวัดหรืออดีตสมาชิกสภาเทศบาล
6. ผู้ที่ทำประโญชน์ เช่น บริจาคเพื่อการกุศล คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 300,000 บาท บริจาคร่างกายหรืออวัยวะ
7. บิดามารดาของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ระดับ 6 ขึ้นไป
8. บิดามารดาของผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ “ตติตาภรณ์ช้างเผือก” (ต.ช.) ขึ้นไป
9. บิดามารดาของพระสมณศักดิ์ ตั้งแต่ชั้น “พระครูสัญญาบัตร” ขึ้นไป
10. บิดามารดาของข้าราชการทหาร ตำรวจ ตั้งแต่ระดับพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท