สำนักปฏิบัติธรรมวัดใหม่คำวัน แห่งที่ ๑๔
สำนักปฏิบัติธรรมวัดใหม่คำวัน
สถานที่ติดต่อ
วัดใหม่คำวัน หมู่ที่ ๓ ตำบลดงป่าคำ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ๖๖๑๗๐ โทร. ๐๕๖-๖๙๗๑๔๘, ๐๘-๙๘๕๘-๕๘๔๓
E-mail jinandsamran@thaimail.com
เจ้าสำนัก
พระครูพิมณฑ์วรกิจ (ฐานวโร) วุฒิการศึกษา ม.๖ อายุ ๔๑ ปีพรรษา ๑๕
อาจารย์ผู้สอน
๑. พระครูพิมณฑ์วรกิจ (ฐานวโร) วุฒิการศึกษา ม.๖ นักธรรมเอก
๒. พระครูสังฆรักษ์ สำรวย ฉายา สทฺธาธิโก วุฒิการศึกษา ม.๓ นักธรรมเอก
ลักษณะวิธีการสอน
การเดินจงกรม ก่อนเดินให้ยกมือไขว้หลัง มือขวาจับข้อมือซ้าย วางไว้ตรงกระเบนเหน็บ ยืนตัวตรง เงยหน้าหลับตา ให้สติจับอยู่ที่ปลายผม กำหนดว่า "ยืนหนอ" ช้าๆ ๕ ครั้ง เร่ิ่มจากศีรษะลงมาปลายเท้าและจากปลายเท้าขึ้นไปบนศีรษะ กลับขึ้นกลับลงจนครบ ๕ ครั้ง แต่ละครั้งแบ่งเป็นสองช่วง ช่วงแรก คำว่า "ยืน" จิตวาดมโนภาพร่างกาย จากศีรษะลงมาหยุดที่สะดือ คำว่า "หนอ" จากสะดือลงไปปลายเท้า กำหนดคำว่า "ยืน" จากปลายเท้ามาหยุดที่สะดือ คำวา"หนอ" จากสะดือขึ้นไปปลายผม กำหนดกลับไปกลับมา จนครบ ๕ ครั้ง ขณะนั้นให้สติอยู่ที่ร่างกาย อย่าให้ออกไปนอกกาย เสร็จแล้วลืมตาขึ้น ก้มหน้าทอดสายตาไปข้างหน้าประมาณ ๑ ศอก สติจับอยู่ที่เท้า การเดิน กำหนดว่า "ขวา......" "ย่าง....." "หนอ..." กำหนดในใจ คำว่า "ขวา" ต้องยกส้นเท้าขวาขึ้นจากพื้นประมาณ ๒ นิ้ว เท้ากับใจนึกต้องให้พร้อมกัน "ย่าง" ต้องก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าช้าที่สุดเท้า ยังไม่เหยียบพื้น คำว่า "หนอ" เท้าลงถึงพื้นพร้อมกัน เวลายกเท้าซ้ายก็เหมือนกัน กำหนดว่า "ซ้าย...." "ย่าง...." "หนอ..." คงปฏิบัติเช่นเดียวกันกับ "ขวา" "ย่าง" "หนอ" ระยะก้าวในการเดนิ ห่างกันประมาณ ๑ คืบ เป็ยอย่างมากเพื่อการทรงตัว ขณะก้าวจะได้ดีขึ้น เมื่อเดินสุดสถานที่ใช้แล้ว ให้นำเท้่ามาเคียงกัน เงยหน้าหลับตา กำหนด "ยืนหนอ" ช้าๆ อีก ๕ ครั้ง ทำความรู้สึกโดยจิต สติ รู้อยู่ตั้งแต่กลางกระหม่อม แล้วกำหนด "ยืนหนอ" ๕ ครั้ง เบื้องต่ำตั้งแต่ปลายผมลงมาถึงปลายเท้า เบื้องบนตั้งแต่ปลายเท้าขึ้นมา "ยืนหนอ" ๕ ครั้ง แล้วหลับตา ตั้งตรงๆ เอาจิต เวลานั่งอยู่หรือเดินอยู่ ถ้าจิตคิดถึงบ้าน คิดถึงทรัพย์สินหรือคิดฟุ้งซ่านต่างๆ นานา ก็ให้เอาสติปักลงที่ลิ้นปี่พร้อมกับกำหนดว่า "คิดหนอๆ ๆ ๆ" ไปเรื่อยๆ จนกว่าจิตจะหยุดคิด แม้ดีใจ เสียใจ หรือโกรธ ก็กำหนด เช่นเดียวกันว่า "ดีใจหนอๆ ๆ ๆ "โกรธ หนอๆ ๆ ๆ" เป็นต้น
การนอน
เวลานอนค่อย ๆ เอนตัวนอนพร้อมกับกำหนดตามไปว่า "นอนๆนอๆ ๆ ๆ" จนกว่าจะนอนเรียบร้อย ขณะนั้นให้เอาสติจับ อยู่กับอาการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อนอนเรียบร้อยแล้วให้เอาสติมาจับที่ท้อง แล้วกำหนดว่า "พอง หนอ" "ยุบ หนอ" ต่อไปเรื่อยๆ ให้คอยสังเกตให้ดีว่า จะหลับไปตอนพอง หรือตอนยุบ อิริยาบทต่างๆ การเดินไปในที่ต่างๆ การเข้าห้องน้ำ การเข้าห้องส้วม การรับประทานอาหาร และการกระทำกิจการงานท้้งปวง ผู้ปฏิบัติต้องมีสติกำหนดอยู่ทุกขณะในอาการเหล่านี้ ตามความเป็นจริง คือ มีสติ สัมปชัญญะ เป็นปัจจุบัน อยู่ตลอดเวลา
กิจกรรมต่างๆ
ทำวัตร เช้า-เย็น เจริญภาวนา เดินจงกรม ฟังธรรม สนทนาธรรม แายวีดีทัศน์สื่อธรรมะ
จำนวนผู้ปฏิบัติธรรมที่รองรับได้
๒๕๐ คน