วัดท่าหลวง
ประวัติวัดท่าหลวงพระอารามหลวง
วัดท่าหลวง พระอารามหลวง ตั้งอยู่เลขที่ ๖๗๔ ถนนบุษบา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิจิตรจังหวัดพิจิตร รหัสไปรษณีย์ ๖๖๐๐๐ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิด สามัญสังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย ภาค ๔ หนเหนือ ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่จำนวน ๔๖ไร่ ๓ งาน๑๗.๔ ตารางวา น.ส. ๓ ก เลขที่ ๔๗๐, ๔๗๑ น.ส. ๓ เลขที่ มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน ๒ แปลงมีเนื้อที่จำนวน ๓๐ ไร่ ๒ งาน ๔๒ ตารางวา ตามโฉนดตราจอง และ น.ส. ๓ เลขที่ ๒๒๒๖, ๒๑๙ อยู่ที่ตำบลในเมือง และ ตำบลหนองปลาไหลแห่งละหนึ่งแปลง ตั้งวัดพุทธศักราช ๒๓๘๘ได้รับพระราชทาน
วิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๙๒เขตแดนวิสุงคามสีมา กว้าง ๙ เมตร ยาว ๒๖ เมตร เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างเมื่อพุทธศักราช๒๕๑๐ - ๒๕๑๓ ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญเมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๙
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับที่ตั้งของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิจิตร เขต ๑ (สำนักงานประถมศึกษาพิจิตรสปจ.เก่า)
ทิศใต้ ติดกับที่ทำการไปรษณีย์พิจิตร
ทิศตะวันออก ติดกับแม่น้ำน่าน
ทิศตะวันตก ติดกับถนนศรีมาลาตรงกันข้ามเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอเมืองพิจิตร เรือนจำพิจิตรและกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพิจิตร
ความเป็นมาวัดท่าหลวง พระอารามหลวงเป็นวัดโบราณวัดหนึ่งซึ่งอยู่คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดพิจิตรตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่าน ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อใดแต่ มีหลักฐานที่สืบทราบได้ว่าสร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๓๘๘ เป็นต้นมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์จักรีขณะนั้นมีฐานะเป็นวัดประเภทสำนักสงฆ์ยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาต่อมาเมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๙๒ จึงได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาภายในพระอุโบสถประดิษฐานองค์หลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสมัยเชียงแสนหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีพุทธลักษณะที่งดงามมาก ขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๔๐ เมตร สูง ๑.๖๐เมตร เป็นพระพุทธรูปที่สำคัญคู่บ้านคู่เมืองพิจิตรอายุการสร้างวัดปรากฏตามหลักฐานพอสืบค้นได้จากอดีตจนถึงปัจจุบันประมาณ ๑๖๐ กว่าปี
วัดท่าหลวงมีชื่อเรียกกันหลายชื่อ เดิมทีเรียกกันว่า "วัดราษฎร์ประดิษฐาราม" ต่อมาเรียกกันว่า "วัดประดิษฐาราม" ปัจจุบันเรียกว่า "วัดท่าหลวง" ซึ่งเรียกตามชื่อของหมู่บ้านที่ตั้งวัดอยู่ คำว่า "ท่าหลวง" นั้นเป็นชื่อของหมู่บ้านท่าหลวง คลองท่าหลวง ตำบลท่าหลวง และเคยเป็นชื่อของอำเภอท่าหลวงมาก่อน ต่อมาเมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๑เปลี่ยนเป็นอำเภอเมืองพิจิตรจนถึงปัจจุบันทางราชการได้เคยใช้สถานที่วัดท่าหลวงในกาประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาเป็นประจำ
วัดท่าหลวงนี้มีมาก่อนที่จะย้ายเมืองพิจิตรเก่ามาตั้งอยู่ที่เมืองพิจิตรใหม่ในปัจจุบันแต่เดิมมีฐานะเป็นเพียงสำนักสงฆ์ตั้งอยู่ในป่าพงละเมาะไม้ในเขตหมู่บ้านท่าหลวงอำเภอท่าหลวง จังหวัดพิจิตรซึ่งในขณะนั้นที่ตั้งตัวเมืองพิจิตรอยู่ที่ตำบลเมืองเก่าห่างจากตัวเมืองพิจิตรใหม่ในปัจจุบันไปทางทิศตะวันตกประมาณ๘ กิโลเมตรและได้ย้ายเมืองพิจิตรเก่ามาตั้งอยู่ที่เมืองพิจิตรใหม่ดังที่ปรากฏในปัจจุบันในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯรัชกาลที่ ๕ ซึ่งในขณะนั้นวัดท่าหลวงมีมาอยู่ก่อนแล้วแต่สภาพโดยทั่วไปของเสนาสนะถาวรวัตถุภายในวัดมีเพียงกุฏิหลังคามุงแฝกอยู่ ๒ - ๓หลัง และมีอุโบสถหลังเก่ากับวิหารเก่าตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านแต่มาเกิดไฟไหม้พงซึ่งใกล้กับที่ตั้งวัด ดังนั้นวัดท่าหลวงจึงถูกไฟไหม้กุฏิไปด้วยส่วนอุโบสถเก่าและวิหารเก่าก็ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา
ครั้นต่อมาเจ้าอาวาสวัดท่าหลวงในยุคนั้น สันนิษฐานว่า "พระเดชพระคุณพระธรรมทัสสีมุนีวงศ์ (หลวงปู่เอี่ยม) ซึ่งในขณะนั้นพระเดชพระคุณพระธรรมทัสสีมุนีวงศ์ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดพิจิตรได้สร้างกุฏิขึ้นใหม่ ในสมัยรัชกาล ๕พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทราบว่าวัดท่าหลวงเป็นที่ประดิษฐานองค์หลวงพ่อเพชรซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เป็นมิ่งขวัญของชาวพิจิตรต่อมาเจ้าพระยาเทพาธิบดี (อิ่ม) เจ้าเมืองพิจิตร ได้รับคำสั่งจากเจ้าพระยาศรีสุริยศักดิ์ สมุหเทศาภิบาล มณฑลพิษณุโลกว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จักได้พระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะที่งดงามไปประดิษฐานไว้ที่วัดเบญจมบพิธดุสิตวนาราม จังหวัดพระนคร ดังนั้น พระยาเทพาธิบดี เจ้าเมืองพิจิตรจึงได้อัญเชิญองค์หลวงพ่อเพชร ซึ่งในขณะนั้นประดิษฐานอยู่ที่อุโบสถวัดนครชุมเมืองพิจิตรเก่านำมาประดิษฐานไว้ที่วัดท่าหลวงเมืองพิจิตรใหม่เพื่อที่จะน้ำขึ้นทูลเกล้าถวายตามพระราชประสงค์แต่ด้วยเหตุที่พระองค์ทรงทราบว่าชาวเมืองพิจิตรมีความเศร้าโศกเสียใจเป็นอันมากด้วยความเสียดายองค์หลวงพ่อเพชรพระองค์ จึงรับสั่งให้นำองค์หลวงพ่อเพชรกลับคืนไปพักไว้ที่วัดท่าหลวงตามเดิมโดยมิได้อัญเชิญกลับไปยังวัดนครชุมเมืองพิจิตรเก่าตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
เมื่อวันที่๘ เดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๒ ตรงกับวันขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีระกา เอกศก ๑๒๗๑รัตนโกสินทรศก ๑๒๘ ได้มีพระยาพิชัยณรงค์สงคราม (ดิษ) เจ้าเมืองพิจิตร (เผื่อน)ภริยา และนายคอนผู้เป็นบุตร พร้อมใจกันสร้างพระอุโบสถหลังนี้ไว้ตามเดิมด้วยทุนที่ได้รับพระราชทานเงินเดือนจำนวน ๑,๒๓๓ บาท (หนึ่งพันสองร้อยสามสิบสามบาท)มิได้แข่งขันกับวัดใดวัดหนึ่ง โดยมิได้มีที่เดือดร้อนและมีผู้ร่วมบริจาคหลายรายเพราะพระอุโบสถได้ชำรุดทรุดโทรมพระสงฆ์ได้รับความเดือดร้อนมากในการกระทำสังฆกรรมจึงคิดจะอำนวยการนี้ขึ้นการสร้างพระอุโบสถของท่านเจ้าเมืองพิจิตรดังกล่าวมาแล้วนั้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานองค์หลวงพ่อเพชรแทนหลังเดิมที่ชำรุดทรุดโทรมและเดิมสร้างเป็นฝากระดานหลังคามุงด้วยสังกะสีพระอุโบสถหลังนี้สร้างอยู่หน้าอุโบสถหลังเดิมตั้งอยู่ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำน่านต่อมาน้ำได้เซาะตลิ่งพังจึงได้สร้างขึ้นมาใหม่และพร้อมกันนี้ได้สร้างศาลาขึ้นมาหนึ่งหลัง ประมาณพุทธศักราช๒๔๕๕ โดยใช้การก่อสร้างแบบลักษณะทรงไทยโบราณไม่ใช้ตะปูในการก่อสร้างเหมือนในยุคปัจจุบัน ศาลาหลังนี้ใช้เสาใหญ่มากเมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๗ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงเสด็จออกตรวจการณ์คณะสงฆ์มณฑลฝ่ายเหนือโดยพระองค์ได้ทรงเสด็จมาที่วัดท่าหลวงนี้ด้วย ได้ทรงชมว่า "ศาลาการเปรียญหลังนี้ช่างสร้างได้เก่งจริง ๆ"และต่อมาศาลาหลังนี้ก็ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา
ต่อมาในปีพุทธศักราช๒๔๖๐ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้าองค์สกลมหาสังฆปริณายก ลำดับที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ทรงเสด็จมาที่วัดท่าหลวงอีกครั้งหนึ่งในการเสด็จมาครั้งนี้พระองค์ได้เสด็จมาทรงเปิดโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดท่าหลวงได้สร้างขึ้นใหม่
ปีพุทธศักราช๒๔๗๑ พระเดชพระคุณพระครูศีลธรารักษ์ (หลวงปู่ยิ้ม ทัดเที่ยง) เจ้าอาวาสวัดท่าหลวงและ เจ้าคณะจังหวัดพิจิตร พร้อมด้วยคณะอุบาสก อุบาสิกา ทายก ทายิกาได้นิมนต์พระมหาไป๋ ญาณผโล - นาควิจิตร เปรียญธรรม ๔ ประโยคเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีอยู่ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์จังหวัดพระนครให้มาเป็นครูสอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรมทั้งแผนกบาลีและแผนกธรรมที่สำนักศาสนศึกษาวัดท่าหลวงพระมหาไป๋ ญาณผโล รูปนี้ท่านเป็นชาวเมืองพิจิตรเก่าและได้ไปศึกษาเล่าเรียนที่จังหวัดพระนครตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๕๙ท่านได้พัฒนาการศึกษาสงฆ์จนมีความมั่นคงจนทำให้วัดท่าหลวงมีพระภิกษุสามเณรเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากเป็นลำดับแม้กระทั่งศิษย์วัดก็มีมากขึ้นด้วย
ปีพุทธศักราช ๒๔๗๒พระเดชพระคุณพระครูศีลธรารักษ์ (หลวงปู่ยิ้ม ทัดเที่ยง) เจ้าอาวาสวัดท่าหลวง และเจ้าคณะจังหวัดพิจิตร ได้มรณภาพลงแล้ว พระมหาไป๋ ญาณผโลจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าหลวงรูปต่อมาและในขณะเดียวกันนั้นท่านยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดพิจิตรอีกด้วย
เนื่องจากการมรณภาพของพระเดชพระคุณพระครูศีลธรารักษ์ทำให้ผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดพิจิตรว่างลง พระมหาไป๋ ญาณผโลจึงได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดพิจิตร เมื่ออายุ ๓๓ ปีพรรษา ๑๐ ในคราวประชุมเจ้าคณะจังหวัดทั่วประเทศ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้า องค์สกลมหาสังฆาปริณายก ได้ทรงตรัสว่า "ท่านนะหรือจะเป็นเจ้าคณะจังหวัดพิจิตร" แต่เนื่องจากพระมหาไป๋ ญาณผโลเป็นผู้เชี่ยวชาญและไฝ่ใจในการศึกษา มีความรู้ความเข้าใจอย่างแตกฉานในพระธรรมวินัยจึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนามที่พระครูธรรมทัสสีมุนีวงศ์ พิจิตรสังฆบดี สังฆวาหะ เมื่อวันที่ ๖ เดือนพฤศจิกายนพุทธศักราช ๒๔๗๔ ต่อมาเมื่อวันที่ ๑ เดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๙ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่พระธรรมทัสสีมุนีวงศ์ มงคลพิจิตร ยคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี (สป.)
ปีพุทธศักราช ๒๔๙๐ พระเดชพระคุรพระธรรมทัสสีมุนีวงศ์ (หลวงปู่ไป๋ ญาณผโล)ได้ดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดพิจิตรในขณะนั้นขึ้นมาอีกหลังหนึ่ง
ปีพุทธศักราช๒๔๙๓ ศาลาการเปรียญหลังเก่าชำรุดทรุดโทรมมากอีกทั้งมีประชาชนมาบำเพ็ญกุศลเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับจึงได้ดำเนินการก่อสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ขึ้นมาอีกหลังหนึ่งปัจจุบันพระเดชพระคุณพระราชวิจิตรโมลี (หลวงพ่อบุญมี ปริปุณฺโณ - แตงปั้น)เจ้าอาวาสวัดท่าหลวง และ เจ้าคณะจังหวัดพิจิตร รูปปัจจุบันได้ก่อสร้างศาลาสภาบริหารคณะสงฆ์จังหวัดพิจิตร (ศาลาการเปรียญ) เมื่อปีพุทธศักราช๒๕๓๐ แล้วเสร็จสมบูรณ์ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๖ด้วยวัตถุประสงค์คือต้องการให้เป็นที่ประชุมส่วนกลางของคณะสงฆ์จังหวัดพิจิตรเป็นสถานที่บำเพ็ญกุศล ทำกิจกรรมของส่วนราชการ และประชาชนสร้างในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่รัชกาลที่ ๙ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ๖๐ พรรษา เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๐ เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ ๒ ชั้นขนาดกว้าง ๒๘ เมตร ยาว ๖๐ เมตรโดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดพระราชทานพระปรมาภิไธยย่อ (ภปร.)ซึ่งติดตั้งอยู่ที่บันศาลาทั้ง ๒ ด้าน เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕ใช้งบประมาณในการก่อสร้างจำนวน ๒๔,๙๕๑,๙๖๑.- บาท (ยี่สิบสี่ล้านเก้าแสนห้าหมื่นหนึ่งพันเก้าร้อยหกสิบเอ็ดบาทถ้วน)
เมื่อปีพุทธศักราช๒๕๔๒ มหาเถรสมาคมได้มีมติให้วัดท่าหลวงเป็นที่ประทานสัญญาบัตร พัดยศและผ้าไตรแก่คณะสงฆ์ในเขตการปกครองคณะสงฆ์หนเหนือ ๑๖ จังหวัดโดยพระเดชพระคุณท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายกทรงเป็นองค์ประทานสัญญาบัตร พัดยศและผ้าไตร
ปีพุทธศักราช ๒๕๔๖พระเดชพระคุณเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนเหนือได้มีบัญชาให้วัดท่าหลวงเป็นสถานที่ทรงตั้งเปรียญและมอบวุฒิบัตรแก่พระภิกษุสามเณรผู้สอบบาลีสนามหลวงได้ในปีพุทธศักราช๒๕๔๖ ในเขตปกครองคณะสงฆ์หนเหนือ ๑๖ จังหวัด
ปีพุทธศักราช๒๔๘๖ คณะสงฆ์วัดท่าหลวงโดยการนำของพระเดชพระคุณพระธรรมทัสสีมุนีวงศ์ (หลวงปู่ไป๋)เจ้าอาวาสวัดท่าหลวง และ เจ้าคณะจังหวัดพิจิตร พร้อมด้วยอุบาสก อุบาสิกา ทายกทายิกา พ่อค้า ประชาชน ได้พร้อมใจกันก่อสร้างถาวรวัตถุที่ทำการคณะสงฆ์เป็นเรือนไม้๒ ชั้น
ปีพุทธศักราช ๒๕๑๑ - ปัจจุบันพระเดชพระคุณพระราชวิจิตรโมลี (หลวงพ่อบุญมี ปริปุณฺโณ - แตงปั้น)เจ้าอาวาสวัดท่าหลวง และ เจ้าคณะจังหวัดพิจิตร รูปปัจจุบันได้รับการมอบหมายจากพระเดชพระคุณพระทีฆทัสสีมุนีวงศ์ (หลวงปู่ไป๋)ให้ดำเนินการวางผังบริเวณวัด การก่อสร้างเสนาสนะถาวรวัตถุภายในวัดเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงามเหมาะสมดี
ปีพุทธศักราช๒๕๑๑ ได้ดำเนินการจัดสร้างกุฏิสามัคคีแสวงธรรม (กุฏิ ๕)เป็นกุฏิอดีตเจ้าอาวาสวัดท่าหลวง (หลวงปู่ไป๋) อาคารทรงไทย ๒ ชั้น กว้าง ๑๕ เมตรยาว ๒๕ เมตร ได้การอุปถัมภ์ด้วยดีจากคุณแสวง ศรีมาเสริมผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตรในขณะนั้น สิ้นค่าก่อสร้างเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น๔๑๒,๖๙๐.- บาท (สี่แสนหนึ่งหมื่นสองพันหกร้อยเก้าสิบบาท) ปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๔๖)ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างเพิ่มเติม
สิ้นจำนวนเงิน ๕,๐๐๐,๐๐๐.- บาท (ห้าล้านบาท) แต่ยังคงโครงสร้างเดิมไว้เป็นส่วนมาก
ปีพุทธศักราช ๒๕๑๒ - ๒๕๑๖ ได้ดำเนินการก่อสร้างกุฏิทรงไทยคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น กว้าง ๕ เมตร ยาว ๙ เมตร จำนวน ๑๐ หลัง ๆ ละ ๑๐๓,๐๐๐.- บาท (หนึ่งแสนสามพันบาท) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๑,๐๓๐,๐๐๐.- บาท (หนึ่งล้านสามหมื่นบาท)
ปีพุทธศักราช ๒๕๑๗ - ๒๕๒๒ ได้ดำเนินการก่อสร้างกุฏิทรงไทยคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น เป็น ๒ ขนาด จำนวน ๘ หลัง คือ -
(๑) ขนาดกว้าง ๗.๕๐ เมตร ยาว ๑๒ เมตร จำนวน ๔ หลัง ๆ ละ ๒๕๐,๐๐๐.- บาท (สองแสนห้าหมื่นบาท) เป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐.- บาท (หนึ่งล้านบาท)
(๒) ขนาดกว้าง ๕ เมตร ยาว ๙ เมตร จำนวน ๔ หลัง ๆ ละ ๑๕๐,๐๐๐.- บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาท) เป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน ๖๐๐,๐๐๐.- บาท (หกแสนบาท)
ปีพุทธศักราช ๒๕๒๒ ได้ดำเนินการก่อสร้างกุฏิทรงไทยคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น ขนาดกว้าง ๕ เมตร ยาว ๙ เมตร จำนวน ๒ หลัง ๆ ละ ๒๒๐,๐๐๐.- บาท (สองแสนสองหมื่นบาท) เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น ๔๔๐,๐๐๐.- บาท (สี่แสนสี่หมื่นบาท)
ปีพุทธศักราช ๒๕๒๓ - ๒๕๒๕ ได้ดำเนินการก่อสร้างกุฏิทรงไทยคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น ขนาดกว้าง ๗.๕๐ เมตร ยาว ๑๒ เมตร จำนวน ๑ หลัง เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น ๓๐๒,๐๐๐.- บาท (สามแสนสองพันบาท)
ปีพุทธศักราช ๒๕๔๑ ได้ดำเนินก่อสร้างกุฏิทรงไทยคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น ปูพื้นด้วยหินแกรนิต ตบแต่งภายในวัดไม้สักทั้งหลัง หลังคามุงกระเบื้องเซรามิก ขนาดกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๓๐ เมตร ใช้ในการสงเคราะห์ต้องการเลิกยาเสพติดให้โทษทุกชนิด เป็นที่เก็บวัตถุมงคลของวัด ท่าหลวงทุกชนิด เป็นศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาวัดท่าหลวง และ เป็นศูนย์พระปริยัตินิเทศก์จังหวัดพิจิตร
ปีพุทธศักราช ๒๕๔๒ ได้ดำเนินการก่อสร้างกุฏิทรงไทยคอนกรีตเสริมเหล็ก ปูพื้นด้วยหินแกรนิต ตบแต่งภายในด้วยไม้สักทั้งหลัง หลังคามุงกระเบื้องเซรามิก ๒ ชั้น ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๒ เมตร จำนวน ๒ หลัง (กุฏิรับรองสงฆ์ ๑) จำนวน ๒,๕๐๐,๐๐๐.- บาท (สองล้านห้าแสนบาท)
ปีพุทธศักราช ๒๕๔๒ ได้ดำเนินการก่อสร้างกุฏิทรงไทยคอนกรีตเสริมเหล็ก ปูพื้นด้วยหินแกรนิต ตบแต่งภายในด้วยไม้สักทั้งหลัง หลังคามุงกระเบื้องเซรามิกสีดำ ๒ ชั้น ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๒ เมตร จำนวน ๒ หลัง (กุฏิรับรองสงฆ์ ๒) จำนวน ๒,๖๐๐,๐๐๐.- บาท (สองล้านหกแสนบาท)
ปีพุทธศักราช ๒๕๔๕ ได้ดำเนินการก่อสร้างกุฏิทรงไทยคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น พื้นหินขัด ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๕๐ เมตร เป็นเงินจำนวน ๕,๐๐๐,๐๐๐.- บาท (ห้าล้านบาท)
การก่อสร้างพระอุโบสถหลวงพ่อเพชร เดิมที่พระอุโบสถหลังเก่าของวัดท่าหลวงได้สร้างด้วยไม้ เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๒ ตรงกับวันขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีระกา เอกศก ๑๒๗๑ รัตนโกสินทรศก ๑๒๘ ได้มีพระยาพิชัยณรงค์สงคราม (ดิษ) เจ้าเมืองพิจิตร (เผื่อน) ภริยา และนายคอน ผู้เป็นบุตร พร้อมใจกันสร้างพระอุโบสถหลังนี้ไว้ตามเดิม ด้วยทุนที่ได้รับพระราชทานเงินเดือน เป็นเงิน ๑,๒๓๓ บาท (หนึ่งพันสองร้อยสามสิบสามบาท) มิได้แข่งขันกับวัดใดวัดหนึ่ง โดยมิได้มีที่เดือดร้อน และมีผู้ร่วมบริจาคหลายรายเพราะพระอุโบสถได้ชำรุดปรักหักพังมานาน พระสงฆ์ได้รับความเดือดร้อนมากในการกระทำสังฆกรรม จึงคิดอำนวยการนี้ขึ้น การสร้างพระอุโบสถของท่านเจ้าเมืองพิจิตรดังกล่าวมาแล้วนั้น เพื่อเป็นที่ประดิษฐานองค์หลวงพ่อเพชรแทนพระอุโบสถหลังเดิมที่ชำรุดทรุดโทรมและเดิมสร้างเป็นฝากระดานหลังคามุงด้วยสังกะสี พระอุโบสถหลังนี้สร้างอยู่หน้าพระอุโบสถหลังเดิม ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำน่าน ต่อมาน้ำเซาะตลิ่งพัง จึงได้สร้างขึ้นมาใหม่อายุกว่า ๔๐ ปี ชำรุดทรุดโทรมมาก พอถึงปีพุทธศักราช ๒๔๙๒ พระเดชพระคุณพระธรรมทัสสีมุนีวงศ์ (หลวงปู่ไป๋) เจ้าอาวาสวัดท่าหลวงในขณะนั้น ได้เป็นประธานในการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ที่มีความวิจิตรงดงามตามแบบสถาปัตยกรรมไทย ขนาดกว้าง ๙.๕๐ เมตร ยาว ๒๗ เมตร พระอุโบสถหลวงพ่อเพชรได้สร้างสำเร็จเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๙๕ แล้วได้อัญเชิญองค์หลวงพ่อเพชรมาประดิษฐานไว้ที่แทนรองรับในพระอุโบสถ แต่พอปีพุทธศักราช ๒๕๑๔ ได้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งที่ ๑ เป็นเงินจำนวน ๑๙,๑๓๓.- บาท (หนึ่งหมื่นเก้าพันหนึ่งร้อยสามสิบสามบาท)
ปีพุทธศักราช ๒๕๓๓ ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถหลวงพ่อเพชรครั้งที่ ๒ ได้จัดเปลี่ยนหลังคา ทาสี และวาดภาพจิตรกรรมฝาผนัง ประดับไฟฟ้าทั้งภายในและภายนอก เป็นเงินจำนวน ๕,๒๐๐,๐๐๐.- บาท (ห้าล้านสองแสนบาท) โดย คุณเฉลียว อยู่วิทยา เจ้าของบริษัทกระทิงแดงจำกัด เป็นผู้อุปถัมภ์ทั้งหมด
ปีพุทธศักราช ๒๕๔๖ ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถหลวงพ่อเพชรครั้งที่ ๓ได้จัดเปลี่ยนหลังคา ทาสี และเปลี่ยนไม้แปร ระแนง ฝ้า เป็นเงินจำนวน ๒,๑๐๐,๐๐๐.- บาท (สองล้านหนึ่งแสนบาท) โดย คุณเฉลียว อยู่วิทยา เจ้าของบริษัทกระทิงแดงจำกัด เป็นผู้อุปถัมภ์ทั้งหมด
ปีพุทธศักราช ๒๕๐๕ ได้ดำเนินการสร้างฌาปนสถานเมรุ เนื่องจากเมรุเดิมอยู่ในที่โล่งแจ้งไม่เหมาะสมกับสถานที่ จึงได้ทำการก่อสร้างขึ้นมาใหม่ ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๒๓ - ๒๕๒๕ ได้จัดสร้างเมรุขึ้นมาใหม่ อยู่ใกล้บริเวณเดียวกันแต่มีขนาดใหญ่กว่า เป็นลักษณะทรงไทย มีมณฑป ๑ หลัง แบบเตาคู่ ขนาดกว้าง ๕.๕๐ เมตร ยาว ๓๑ เมตร สิ้นค่าก่อสร้างจำนวน ๒,๒๕๐,๐๐๐.- บาท (สองล้านสองแสนห้าหมื่นบาท) ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๔๘ ได้บูรณปฏิสังขรณ์ทาสี ตั้งแท่น เปลี่ยนเตาเผาจากถ่านมาเป็นระไฟฟ้าน้ำมัน สิ้นเงินจำนวน ๒,๐๐๐,๐๐๐.- บาท ( สองล้านบาทถ้วน)